๑๕ กรกฎาคม วันชาตกาล เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม)
บ้านยะมะรัชโช
บ้านหลังนี้มีประวัติศาสคร์ที่น่าสนใจสำหรับคนสุพรรณ
หลายคนอาจจะไม่เคยรู้เรื่องราวของสถานที่แห่งนี้
.....หลายคนอาจจะเคยผ่านตา
บ้านทรงไทยที่ทรุดโทรมดูเหมือนบ้านร้างเก่าๆกลางตัวเมืองหลังหนึ่ง
แต่หากได้ทราบเรื่องราวความเป็นมาของตัวบ้านและผู้เป็นเจ้าของ
คงจะทำให้เราต้องหันกลับมามองดูสถานที่แห่งนี้อย่างตั้งใจอีกครั้ง
...
วันนี้บ้านหลังนี้ได้มีการสร้างขึ้นมาใหม่
ทำให้เราวาดภาพความงามในอดีตของบ้านหลังนี้ได้เด่นชัดขี้น
เป็นภาพอดีตที่งดงาม กับความภูมิใจของเมืองสุพรรณ

บ้านยะมะรัชโช เป็นบ้านไม้ทรงไทยเรือนหมู่
ตั้งอยู่เลขที่ ๑๐๙ ก. ตำบลท่าพี่เลี้ยง
อำเภอเมืองฯ จังหวัดสุพรรณบุรี มีอายุกว่าร้อยปี
เป็นบ้านที่พระเจ้าแผ่นดินเคยเสด็จมาถึง ๒
พระองค์ด้วยกัน สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงรัชกาลที่ ๕
พระองค์ท่านได้เสด็จมาถึงสองครั้งด้วยกัน
ครั้งแรกเป็นการเสด็จประพาสต้น เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๗
(รศ.๑๒๓) ในครั้งที่สองเสด็จตามลำน้ำมะขามเฒ่า
เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๑ ( รศ.๑๒๗ )
ซึ่งพระองค์ทรงพระราชทานชื่อบ้านหลังนี้
เดิมเรียกว่า สุขุมาราม หรือ สุขุมาลัย
ต่อมาเปลี่ยนเป็น ยะมะรัชโช (เมื่อวันที่ ๒๐
ตุลาคม ๒๔๕๑) ซึ่งชื่อของบ้านยะมะรัชโช นั้น คำว่า
ยะมะ มาจากคำว่า ยมก แปลว่า คู่ ส่วนคำว่า
รัชโช มาจากคำว่า ราชา หมายถึงพระเจ้าแผ่นดิน
จึงมีความหมายว่า คู่บารมีของพระเจ้าแผ่นดิน
การพระราชทานชื่อบ้าน ยะมะรัชโช
เป็นการพระราชทานตามที่ปรากฏในสำเนาพระราชโทรเลขไปถึงพระยาสุขุม(ปั้น
สุขุม)
เป็นการพระราชทานให้ก่อนที่เจ้าพระยายมราชจะได้รับการโปรดเกล้าสถาปนาให้เป็นเจ้าพระยายมราช
(ราวเดือนพฤศจิกายน ๒๔๕๑) การพระราชทานชื่อบ้านว่า
ยะมะรัชโช
นั้นเสมือนหนึ่งจะเป็นการบอกใบ้ให้รู้เป็นนัยว่าพระองค์จะทรงแต่งตั้งตำแหน่งนี้ให้กับเจ้าพระยายมราช
(ปั้น สุขุม)
ส่วนเนื้อหาที่ปรากฏในลายพระหัตถ์มีใจความที่โปรดให้ส่งพระราชโทรเลขถึงเจ้าพระยาสุขุม(ปั้น
สุขุม) ดังนี้ มาถึงเวลาบ่าย ๓ โมงเศษ
ยังไม่พบใคร ได้รับโทรเลขขอบใจ
ชื่อบ้านที่กรมหลวงดำรงเรียกสุขุมาลัยต้องกับโรงเรียนวัดพิไชยญาติ
จึงเรียกใหม่ว่า ยะมะรัชโช สบายดีหมด กินข้าวได้
ฝนตกไม่มาก
ครั้นล่วงมาถึงสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่
๖ พระองค์ได้เสด็จมา บ้านยะมะรัชโช ในปี พ.ศ. ๒๔๖๖
ซึ่งในการเสด็จครั้งนี้ผ่านมาทางคลองบางปลาม้า
ได้มีการตั้งพลับพลารับเสด็จแห่งแรกที่บ้านหงส์
อำเภอบางปลาม้า มีการจัดแสดงเพลงพื้นบ้านถวาย
จึงได้ถือกำเนิดเป็นตำบลองค์รักษ์ขึ้นมา
และเมื่อรัชกาลที่ ๖
เสด็จมาถึงบ้านยะมะรัชโชได้เสวยพระกระยาหาร
และทอดพระเนตรการขับเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนที่บ้านยะมะรัชโช
และมีการตั้งพลับพลารับเสด็จขึ้นที่ฝั่งตรงข้ามกับบ้าน
เรียบเรียงโดยธนิตศักดิ์ แป้ง บ้านพลูหลวง
https://www.facebook.com

เจ้าพระยายมราชนั้นท่านได้รับพระราชทานยศสูงสุดถึง
มหาอำมาตย์นายก หรือเทียบเท่า "จอมพล"
ของฝ่ายพลเรือน ซึ่งในประวัติศาสตร์มีเพียง 2
ท่านที่ได้รับพระราชทานยศนี้ คือ
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ
และเจ้าพระยายมราช
เจ้าพระยายมราชยังได้เป็นครูของในหลวงถึง 2
รัชกาล ซึ่งล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 6
ถึงกับมีรับสั่งว่า
จะทรงขาวไปพระราชทานเพลิงศพเจ้าพระยายมราช
ซึ่งมีความหมายว่า
ทรงยกย่อเจ้าพระยายมราชเสมอพระญาติผู้ใหญ่คนหนึ่งทีเดียว
แต่สุดท้ายเจ้าพระยายมราชกลับต้องแต่งขาวไปถวายพระเพลิงแทน


บ้านยะมะรัชโชในอดีต


บ้านยะมะรัชโชในปัจจุบัน

ประวัติมหาอำมาตย์เอก
เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม)
เกิดที่บ้านท้ายน้ำตก
ริมแม่น้ำด้านใต้ตัวเมืองสุพรรณบุรี
ศึกษาเล่าเรียนทางพระปริยัติธรรมจนได้เปรียญ
และได้เป็นครูในโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ
ต่อมาได้โดยเสด็จพระเจ้าลูกเธอ 4 พระองค์
ในพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ออกไปทรงศึกษา ณ
ต่างประเทศ
ท่านได้ใช้เวลาว่างในการศึกษาภาษาอังกฤษ
และมีโอกาสตามเสด็จในการไปศึกษาดูงานในที่ต่างๆ
จนได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
เป็นผู้ช่วยเลขานุการฑูตสยาม ณ กรุงลอนดอน
และเป็นพระวิจิตรวรสาส์นเลขานุการฑูตไทย
ประเทศสหรัฐอเมริกาในเวลาต่อมา
เมื่อกลับมาประเทศไทยท่านได้รับราชการในกระทรวงมหาดไทย
เป็นข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลนครศรีธรรมราชเป็นคนแรก
ในตำแหน่งพระยาสุขุมนัยพินิต
ได้พัฒนาปรับปรุงระเบียบการปกครองเจ็ดหัวเมืองภาคใต้เป็นอย่างดี
จนได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเสนาบดี
กระทรวงโยธาธิการ และเสนาบดีกระทรวงนครบาล
ตามลำดับ
ผลงานของท่านที่กลับมารับราชการในส่วนกลางนั้น
เป็นที่น่าประหลาดใจในความสามารถของท่านเป็นอย่างยิ่ง
จากเด็กวัดชาวสุพรรณบุรี สู่การเป็นครู
และฑูตสันถวไมตรี
ท่านกลับมีความสามารถในการก่อสร้างอย่างน่าอัศจรรย์
ท่านเป็นผู้รับผิดชอบในการสร้างประปาพระนคร
ไฟฟ้านครหลวง ผู้อำนวยการสร้างถนน สะพานทุกแห่ง
ร่วมทั้งพระที่นั่งอนันตสมาคมอันสง่างาม
จนได้รับการพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น
เจ้าพระยายมราช
ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 5
คุณงามความดีและความรับผิดชอบในการปฎิบัติราชการด้วยความซื่อตรง
อุตสาหะ ของท่านเจ้าพระยายมราช
ทำให้ท่านก้าวเข้าสู่ตำแหน่งสูงสุดในรัชสมัย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่
8 ในตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
และอยู่ในตำแหน่งนี้จนถึงแก่อนิจกรรม
ปัจจุบันสถานที่ซึ่งยังเป็นอนุสรณ์อยู่ก็คือ
โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช
และบ้านเรือนไม้หลังเก่าที่สร้างอยู่ในบริเวณบ้านเดิมของท่านด้านข้างโรงพยาบาล

สุขุม
นามสกุลแรกของประเทศไทย

ซึ่งรัชกาลที่ 6 พระราชทานให้ เจ้าพระยายมราช หรือ
ปั้น สุขุม เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ.2456
นามสกุลพระราชทาน
เป็นนามสกุลที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชบัญญัติขนานนามสกุลขึ้นเมื่อวันที่ 22
มีนาคม พ.ศ. 2455 โดยให้มีผลใช้บังคับในวันที่ 1
กรกฎาคม พ.ศ. 2456
แต่ได้มีการเลื่อนเวลาการบังคับใช้กฎหมายโดยสมบูรณ์เมื่อวันที่
1 เมษายน พ.ศ. 2458
วันที่ ๓๐ พฤษภาคม
๒๔๕๖
ถึง เจ้าพระยายมราช (ปั้น)
นามสกุลของเจ้าพระยายมราชนั้น
ฉันได้ไตร่ตรองดูแล้ว เห็นว่าตัวเจ้า
พระยายมราชเอง
นับว่าเป็นผู้ที่ทำให้สกุลมีชื่อเสียงในแผ่นดินไทย
เจ้าพระยา
ยมราชเองได้ตั้งตนขึ้นได้โดยอาศัยคุณธรรมในตัว
เป็นผู้ที่มีสติปัญญาและ
อุตสาหวิริยภาพมาก
ยากที่จะหาผู้ใดเสมอเหมือนได้
ได้รับราชการเป็นที่ไว้วางพระ
ราชหฤทัย
ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและในตัวฉันเองสืบมา
ราชการใดๆ
ที่เจ้าพระยายมราชได้ปฏิบัติมา
ก็ปรากฏว่าได้ใช้ความไตร่ตรอง
อันสุขุม
ทั้งเจ้าพระยายมราชก็ได้มีชื่อเสียงปรากฏแพร่หลายมากขึ้น
เมื่อเป็น
พระยาสุขุมนัยวินิต จนได้มีคำว่า "สุขุมนัยวินิต"
ประกอบอยู่ในสร้อยสมยา
เพราะฉะนั้น
ฉันขอให้นามสกุลเจ้าพระยายมราชว่า "สุขุม"
เขียนเป็นตัวอักษร
โรมันว่า "Sukhum"
เพื่อให้เป็นเกียรติยศปรากฏนามแห่งเจ้าพระยายมราช
ในตำนานแห่งชาติไทย
ขอให้สกุลสุขุม
เจริญรุ่งเรืองมั่นคงอยู่ในกรุงสยามชั่วกาลปาวสาน
วชิราวุธ ป.ร.
|