
แย้เป็นสัตว์เลื้อยคลานจำพวกเดียวกันกับกิ้งก่า แต่มีขนาดตัวโตกว่า
สีผิวปรับเปลี่ยนไม่ได้เหมือนกิ้งก่า
สีข้างแผ่ขยายไม่มีแผงหนามที่สันหลัง ช่องหูใหญ่ เยื่อหูจมใต้ผิวหนัง
หนังข้างคอมีรอยพับตามขวางรอบลำตัวมีเกล็ดประมาณ 40 แถว
หัวและหลังจะมีสีมะกอก มีจุดเหลืองขอบดำเรียงเป็นแนวข้างตัว
มีแถบดำสลับเหลือง คอมีลวดลายร่างแหดำ ประกอบสีครีม ท้องและอกสีส้มสด
ตัวผู้จะมีสีแสดเข้มสลับกับแถบสีดำอยู่ชิดกับโคนขาคู่หน้าทั้งสองข้างของลำตัว
พาดเป็นเส้นทแยงจากด้านหน้าลงสู่หน้าท้อง ตัวผู้จะมีลักษณะปากเป็นรูป
“วงรี” ส่วนเพศเมียจะมีสีแสดจาง ๆ บนสีข้างของลำตัวปากจะมีลักษณะ
“วงกลม”

หนอนนก อาหารโปรดของแย้

แย้ทุกชนิดเป็นสัตว์ที่หากินและอาศัยอยู่ในพื้นดิน
ไม่ขึ้นต้นไม้อย่างสัตว์เลื้อยคลานชนิดอื่น
โดยเฉพาะพื้นดินที่เป็นที่แห้งแล้งลักษณะดินปนทราย ที่อยู่ของแย้เป็นรู
ลึกประมาณ 1 ฟุต เป็นโพรงข้างใน สามารถกลับตัวได้
ที่ปากรูจะมีรอยของหางแย้ เป็นรอยยาว ๆ และจะมีรูพิเศษอีกรูหนึ่ง
ที่ใช้ป้องกันตัว เมื่อถูกศัตรูรุกรานเข้ารูด้านหนึ่ง
แย้สามารถหลบรอดออกไปอีกรูหนึ่งได้อย่างแยบยล
โดยรูนี้เรียกในภาษาไทยว่า "แปว"หรือ รูสลัก
แย้สามารถสืบพันธุ์ได้ทุกฤดูกาล กินแมลงต่าง ๆ เป็นอาหาร
แย้ไม่สามารถที่จะว่ายน้ำได้
แย้จะผสมพันธุ์ในช่วงปลายฤดูหนาวถึงฤดูร้อน หรือเรียกว่าแย้กัดกัน
โดยจะวิ่งไล่งับกันไปมา
หลังผสมพันธุ์ก็จะแยกย้ายกันไปและออกไข่ครั้งละประมาณ 5-9 ฟอง
อาหารของแย้คือแมลงที่อยู่ตามธรรมชาติ ยอดอ่อนของพืช และน้ำค้าง
ส่วนศัตรูของแย้คือ แมว สุนัข เหยี่ยว อีกา
ไก่และที่สำคัญในปัจจุบันคือคนที่กำลังนิยมล่าไปเป็นอาหารนั่นเอง
ปัจจุบัน สถานะของแย้เมื่อเทียบกับสัตว์เลื้อยคลานชนิดอื่น ๆ แล้ว
นับว่าใกล้สูญพันธุ์จากถิ่นที่อยู่ตามธรรมชาติ
ในบางพื้นที่จึงมีการส่งเสริมการเลี้ยงแย้ให้เป็นสัตว์เศรษฐกิจและอนุรักษ์ไว้
แย้
(อังกฤษ: Butterfly lizard, Small-scaled lizard, Ground lizard)
เป็นสัตว์เลื้อยคลานจำพวกกิ้งก่าประเภทหนึ่ง จัดเป็นสัตว์ที่อยู่ในสกุล
Leiolepis ในวงศ์ Agamidae วงศ์ย่อย Leiolepidinae
พบกระจายทั่วไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
โดยเฉพาะภูมิภาคอินโดจีน พบทั้งหมด 8 ชนิด สำหรับในประเทศไทยพบทั้งหมด
4 ชนิด มีลักษณะเด่นคือ มีสีสวยสด และลำตัวไม่มีปุ่มหนาม
มีขนาดลำตัววัดจากปลายปากโดยตลอดยาวประมาณ 11.5 เซนติเมตร หางยาวประมาณ
23.8 เซนติเมตร ตัวแบนหางราบ โคนหางแบนและแผ่บานออก สีข้างแผ่ขยาย
ไม่มีแผงหนามที่สันหลัง ช่องหูใหญ่ เยื่อหูจมใต้ผิวหนัง
หนังข้างคอมีรอยพับตามขวาง รอบลำตัวมีเกล็ดประมาณ 40 แถว
หัวและหลังสีเขียวมะกอก โดยมีจุดสีเหลืองขอบดำเรียงเป็นแนวข้างตัว
มีแถบดำสลับเหลืองคอมีลวดลายร่างแหดำ ประกอบสีครีม ท้องและอกสีส้มสด
ตัวผู้จะมีพังผืดด้านข้าง และสวยกว่าตัวเมีย
โดยที่แย้ไม่สามารถปรับเปลี่ยนสีได้ตามสภาพแวดล้อมเหมือนสัตว์เลื้อยคลานชนิดอื่น
ๆ
วัดสุวรรณตะไล
30/1 บ้านสุวรรณตะไล หมู่ที่ 6
ตำบลหนองสะเดา อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี
สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย


สถานทีท่องเที่ยวใกล้เคียง กราบไหว้
หลวงพ่อมุ่ยวัดดอนไร่

ค่าพิกัด
GPS
วัดสุวรรณตะไล
14.808459, 99.965361
ค่าพิกัด
GPS
หมู่บ้านอนุรักษ์แย้
14.806072, 99.962028
แผนที่ไปวัดสุวรรณตะไล
(บริเวณเดียวกับ
ถนนตาเบบูญ่า) |