วัดพร้าว

 

วัดพร้าว

 

วัดพร้าว อำเภอเมือง สุพรรณบุรี

วัดพร้าวเป็นวัดที่เก่าแก่ มีโบราณวัตถุถึงสมัยอยุธยา และสมัยอู่ทองตอนปลายคือใบเสมาหินทรายแดงสมัยอยุธยา และพระพุทธรูปหินทรายสมัยอู่ทองตอนปลาย หาชมได้ยาก นับเป็นโบราณวัตถุที่เก่าแก่ และน่าศึกษา และวังมัจฉาที่หน้าวัด เป็นที่อนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำนานาชนิด ได้แก่ ปลาสวาย ปลาตะเพียน ฯลฯ ให้ประชาชนได้มาศึกษาธรรมชาติ และพักผ่อนหย่อนใจ ภายในวัดมีต้นยางขนาดใหญ่ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของค้างคาวแม่ไก่จำนวนนับแสนตัว และหอไตรซึ่งตั้งอยู่กลางน้ำสวยงามทรงคุณค่าน่าชม
   ก่อนกลับอย่าลืมแวะซื้อของสด อาหารพิ้นบ้าน และขนมอร่อยๆ ที่
ตลาดโพธิ์พระยา ตลาดสดริมน้ำคุณภาพอีกแห่งของเมืองสุพรรณ

 

วัดพร้าว

ภายในวัดมีวิหารเลียนแบบสถาปัตยกรรมพม่า เป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลอง ตู้พระธรรม ซึ่งเป็นสมบัติที่ควรค่าแก่การรักษา และให้ชนรุ่นหลังได้ศึกษาหาความรู้

 

วัดพร้าว

ภายในวัดมีหอไตรซึ่งตั้งอยู่กลางน้ำสวยสดงดงาม และน่าชื่นชม แปลกตา และในบริเวณวัดมีวิหาร 2 มณฑป 5 ศาลา 1 วิหาร หมายถึง วิหารมีหลังคา 2 ชั้น มณฑป มีหลังคา 5 ชั้น และศาลาหลังคา 1 ชั้น ซึ่งตามตำราของวัดแล้ว ถูกต้องตามตำราของวัดโดยแท้ซึ่งหาชมได้ยาก

 

วัดพร้าว

ภายในวัดมีต้นยางขนาดใหญ่ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของค้างคาวแม่ไก่จำนวนนับแสนตัว สมกับเป็นวัดที่อนุรักษ์พันธุ์สัตว์ ไม่มีใครรบกวนค้างคาวซึ่งนับวันจะเพิ่มจำนวนมากขึ้น เป็นที่น่าตื่นตาตื่นใจแก่ผู้ที่มาเที่ยวชมเป็นยิ่งนัก

 

ท่าน้ำวัดวรจันทร์ วัดพร้าว

 และมีแม่น้ำท่าจีนใหลผ่านหน้าวัด เป็นแม่น้ำสายหลักของชาวบ้านในการใช้ทำการเกษตร และใช้ในชีวิตประจำวัน ทุกวันนี้ได้มีการอนุรักษ์แม่น้ำท่าจีน โดยกลุ่มประชาชนในตำบลโพธิ์พระยา และตำบลใกล้เคียงเพื่อรักษาแม่น้ำให้ใสสะอาด เป็นแหล่งอาหาร และที่อยู่อาศัยของปลานานาพันธุ์ เป็นวังมัจฉาหน้าวัด ซึ่งเป็นที่อนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำนานาชนิด ได้แก่ ปลาสวาย ปลาตะเพียน ฯลฯ ให้ประชาชนได้มาศึกษาธรรมชาติ และพักผ่อนหย่อนใจ
   หลังจากมีการสร้างเขื่อน (ประตูระบายน้ำโพธิ์พระยา) ก็ทำให้แม่น้ำทาจีนเปลี่ยนเส้นทางเดินของน้ำ แต่ก็ไปบรรจบกันกับแม่น้ำเส้นเดิม ทางประมงได้มาส่งเสริมอาชีพให้ชาวบ้าน โดยการสนับสนุนให้เลี้ยงปลาในกระชัง โดยกลุ่มมีสมาชิกประมาณ 30 คน ทำให้สมาชิกมีรายได้เพิ่ม

 

หลวงพ่อม่วง ปฐมเจ้าอาวาสวัดพร้าว

ตำนานหลวงพ่อม่วง ปฐมเจ้าอาวาสวัดพร้าว (พ.ศ. 2330- 2372 โดยประมาณ) เล่าขานกันต่อๆมาว่า หลวงพ่อม่วงท่านเคยเป็นทหารในกองทัพกู้ชาติของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ครั้นบ้านเมืองเริ่มสงบท่านจึงออกบวชกลับมายังถิ่นฐานบ้านเกิด นัยว่าท่านมีจุดประสงค์เพื่อรวบรวมคนที่กระจัดกระจายครั้งกรุงแตกให้กลับมาตั้งถิ่นฐานในชุมชนตามเดิมและคอยสอดส่องดูแลอีกทางหนึ่ง เนื่องจากท่านเป็นนักรบมาก่อนจึงชำนาญด้านศิลปะวิทยาคาถาอาคมต่างๆ จึงมีลูกศิษย์ลูกหามากมาย และสืบทอดสายวิชาต่อเนื่องกันไป ในอดีตพระเกจิอาจารย์หลายองค์ของเมืองสุพรรณก็ล้วนบวชเรียนและศึกษาในสายสำนักวัดพร้าวแห่งนี้

 

วัดพร้าว อำเภอเมือง สุพรรณบุรี

ประวัติวัดพร้าว

ตามประวัติของทางวัดระบุว่าวัดพร้าวสร้างเมื่อ พ.ศ. 2240 - 2255
วัดพร้าวมีชื่อเรียกอยู่ 3 ชื่อ ชื่อแรก "วัดโพพระ" เอาที่อยู่ในท้องถิ่นมาตั้งเป็นชื่อวัด คงเพื่อประสงค์ให้ประชาชนชาวโพพระ ได้ช่วยกันจำโลงทำนุบำรุงให้สมกับเป็นวัดของชาวโพพระ
ชื่อที่2 ต่อมาเรียกกันว่า "วัดแก้วพร้าว" เป็นยุคสมัยที่หลวงพ่อแก้วเป็นเจ้าอาวาส ท่านเป็นพระนักปราชญ์ พระนักพัฒนา พระพหูสูตร เคร่งครัดต่อพระธรรมวินัย ( พ.ศ. 2372 - 2440)
ชื่อที่3 เรียกว่า "วัดพร้าว" จนถึงปัจจุบัน คงเนื่องด้วยสมัยนั้นวัดพร้าว มีต้นมะพร้าวปลูกอยู่รอบสระหอไตร มีมากต้น และประกอบกัน เรียกว่า "วัดพร้าว" ซึ่งเรียกง่าย จำง่าย

ต่อมาเมื่อมีการสร้างเขื่อนบังคับน้ำเสร็จในปี พ.ศ. 2468 แม่น้ำท่าจีนจึงไหลผ่านทิศตะวันตกของวัดอีกทาง ทำให้พื้นที่วัดพร้าวเป็นเกาะนับตั้งแต่นั้น

ค่าพิกัด GPS 14.534248, 100.124973

 

 

 

 

สถานที่ท่องเที่ยว จังหวัดสุพรรณบุรี ร้านอาหาร ของกิน จังหวัดสุพรรณบุรี รีสอร์ท โรงแรม ที่พัก จังหวัดสุพรรณบุรี home suphanbiz

 

Last modified: 30/07/65

จังหวัดสุพรรณบุรี Suphanburi
สถานที่ท่องเที่ยว | ที่พัก-รีสอร์ท | ร้านอาหาร แผนที่ | การเดินทาง | อื่นๆ | กิจกรรม

 

 

วัดสำปะซิว วัดวรจันทร์ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี