วันสารทจีน
ภาษาจีนเรียกว่า 中元节 (จงเอวียน
เจี๋ย)
หรืออีกชื่อเรียกว่า เทศกาลผี 鬼节 (กุ่ย เจี๋ย)
ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Chinese Ghost Festival
ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 7
ตามปฏิทินทางจันทรคติจีน
วันสารทจีน
ชาวจีนที่นับถือศาสนาพุทธจะเน้นกิจกรรมรำลึกถึงบรรพชนผู้ล่วงลับ
ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ดวงวิญญาณที่ล่วงลับ
รวมถึงอุทิศส่วนบุญให้แก่วิญญาณพเนจรที่ไม่มีญาติ
ความเชื่อที่ว่า
ยมบาลผู้มีหน้าที่เฝ้าดูแลเหล่าวิญญาณที่อยู่ในขุมนรกจะเปิดประตูนรกขึ้นในวันนี้เพื่อให้วิญญาณเหล่านี้ได้ออกไปสู่โลกมนุษย์
ซึ่งวิญญาณเหล่านี้ถูกเชื่อว่าเป็นบรรพบุรุษรุ่นก่อนๆของผู้คน
ที่อาจจะไม่ได้รับการฝังที่เหมาะสมบ้าง
ไร้ญาติขาดมิตรบ้าง
ก่อให้เกิดประเพณีจัดไหว้เพื่ออุทิศส่วนกุศลไปให้กับบรรพบุรุษของตน
รวมไปถึงผีที่ไร้ญาติขาดมิตรเหล่านั้น
ตำนานวันสารทจีนอีกทางหนึ่ง
มีชายหนุ่มผู้หนึ่งมีนามว่า มู่เหลียน (พระมหาโมคคัลลานะ)
เป็นคนเคร่งครัดในพุทธศาสนามาก
ผิดกับมารดาที่เป็นคนใจบาปหยาบช้าไม่เคยเชื่อเรื่องนรก-สวรรค์มีจริง
ปีหนึ่งในช่วงเทศกาลกินเจนางเกิดความหมั่นไส้คนที่นุ่งขาวห่มขาวถือศีลกินเจ
นางจึงให้มู่เหลียนไปเชิญผู้ถือศีลกินเจเหล่านั้นมากินอาหารที่บ้านโดยนางจะทำอาหารเลี้ยงหนึ่งมื้อ
ผู้ถือศีลกินเจต่างพลอยยินดีที่ทราบข่าวว่ามารดาของมู่เหลียนเกิดศรัทธาในบุญกุศลครั้งนี้
จึงพากันมากินอาหารที่บ้านของมู่เหลียนแต่หาทราบไม่ว่าในน้ำแกงเจนั้นมีน้ำมันหมูเจือปนอยู่ด้วย
การกระทำของมารดามู่เหลียนนั้นถือว่าเป็นกรรมหนัก
เมื่อตายไปจึงตกนรกอเวจีมหานรกขุมที่ 8
เป็นนรกขุมลึกที่สุดได้รับความทุกข์ทรมานแสนสาหัส
เมื่อมู่เหลียนคิดถึงมารดาก็ได้ถอดกายทิพย์ลงไปในนรกภูมิ
จึงได้รู้ว่ามารดาของตนกำลังอดอยากจึงป้อนอาหารแก่มารดา
แต่ได้ถูกบรรดาภูตผีที่อดอยากรุมแย่งไปกินหมดและเม็ดข้าวสุกที่ป้อนนั้นกลับเป็นไฟเผาไหม้ริมฝีปากของมารดาจนพอง
แต่ด้วยความกตัญญูและสงสารมารดาที่ได้รับความทุกข์ทรมานอย่างสาหัสมู่เหลียนได้เข้าไปขอพญาเหงี่ยมล่ออ๊อง
(ยมบาล) ว่าตนของรับโทษแทนมารดา
แต่ก่อนที่มู่เหลียนจะถูกลงโทษด้วยการนำร่างลงไปต้มในกระทะทองแดง
พระพุทธเจ้าได้เสด็จลงมาโปรดไว้ได้ทัน
โดยกล่าวว่ากรรมใดใครก่อก็ย่อมจะเป็นกรรมของผู้นั้นและพระพุทธเจ้าได้มอบคัมภีร์อิ๋ว
หลันเผิน
ให้มู่เหลียนท่องเพื่อเรียกเซียนทุกทิศทุกทางมาช่วยผู้มีพระคุณให้หลุดพ้นจากการอดอยากและทุกข์ทรมานต่างๆ
ได้ โดยที่มู่เหลียนจะต้องสวดคัมภีร์อิ๋ว
หลันเผินและถวายอาหารทุกปีในเดือนที่ประตูนรกเปิดจึงจะสามารถช่วยมารดาของเขาให้พ้นโทษได้
นับแต่นั้นเป็นต้นมา
ชาวจีนจึงได้ถือเป็นประเพณีปฏิบัติสืบต่อมากันโดยตลอดด้วยการเซ่นไหว้
โดยจะนำอาหารทั้งคาวหวาน
และกระดาษเงินกระดาษทองไปวางไว้ที่หน้าบ้านหรือตามทางแยกที่ไม่ไกลนัก
มีนัยว่าเป็นการเบี่ยงเบนความสนใจของบรรดาวิญญาณเร่ร่อนที่กำลังจะผ่านมาใกล้ที่พักของตน
แต่หัวใจของวันสารทจีนคือ
การปลูกฝังให้ลูกหลานได้แสดงความกตัญญูต่อบรรพชน

งานประเพณีทิ้งกระจาดศาลเจ้าพ่อหลักเมือง
จังหวัดสุพรรณบุรี ประจำปี 2563
พิธีเปิดงานในวันที่
***
(ปี 2563 งดกิจกรรมขบวนแห่)
เวลา 08.00 น.
พบกับขบวนแห่อัญเชิญเจ้าพ่อหลักเมืองที่ยิ่งใหญ่
ตระการตาซึ่งแต่ละขบวนมีการจัดแสดงทางวัฒนธรรมไทยจีน
ที่หลากหลาย ณ ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสุพรรณบุรี
มายัง สมาคมตงฮั้วฮ่วยก้วง
เวลา
19.00 น.
ชมการแสดงมังกร สิงโต หน้าปะรำพิธี
ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
ที่ทำการปกครองจังหวัดสุพรรณบุรี
โทร.
035-535380




ประวัติความเป็นมา
และตำนานงานทิ้งกระจาดสุพรรณบุรี
งานทิ้งกระจาดสุพรรณบุรี
เป็นพิธีกรรมของชาวพุทธศาสนาลัทธิมหายาน
ที่ได้จัดติดต่อกันมาไม่น้อยกว่า 100 ปีมาแล้ว
เล่าต่อกันว่า ชาวสวนเชื้อสายจีนในจังหวัดสุพรรณบุรีได้พบแผ่นหิน
2 แผ่น (รูปพระวิษณุกรรมสวมหมวกแขก)
ในลำน้ำขณะกำลังรดน้ำปลูกผัก
ภายหลังพบว่ามีร่องรอยการสลักเป็นหลักเมือง
จึงได้ตั้งศาลเพียงตาขึ้นเพื่อประดิษฐานหลักเมืองนี้
กระทั่ง พ.ศ.2423 เกิดภาวะแห้งแล้ง ข้าวยากหมากแพง
ผู้คนอดอยากล้มตาย
ชาวเมืองจึงขอพรเจ้าพ่อหลักเมืองให้คุ้มครองและขอให้พ้นจากภัยครั้งนี้
หลังจากนั้นภาวะแห้งแล้งก็เบาบางลงจนหมดไป
ชาวบ้านเชื่อว่าเกิดจากอิทธิฤทธิ์ของเจ้าพ่อหลักเมือง
จึงเห็นพ้องจัดทำบุญเมืองครั้งใหญ่
สักการะเจ้าพ่อหลักเมือง
ทำทานแก่บรรพบุรุษผู้ล่วงลับ เปรตและอสูรกาย 36
จำพวก
มีการนำของกินโยนลงมาจากที่สูงเพื่อเป็นการอุทิศให้ทาน
ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการทิ้งกระจาดนับแต่บัดนั้น
การทิ้งกระจาด
เป็นการให้ทานทั้งดวงวิญญาณ และคน
ที่ให้ดวงวิญญาณก็มีอาหาร และของใช้ กระดาษเงิน
กระดาษทอง ส่วนที่ให้คน ก็เป็นอาหารเจ ข้าวสาร
และของใช้ต่างๆ เมื่อครั้งพุทธกาล
ที่พระอานนท์กำลังบำเพ็ญสมาธิปรเวกธรรม
อยู่ที่นิโครธาราม เมืองกบิลพัสดุ์ มีอสูรกายตนหนึ่งได้แสดงร่างเป็นเปรต
แล้วกล่าวกับพระอานนท์ว่า
อีกสามวันพระพุทธเจ้าจะสิ้นพระชนม์
พระอานนท์จึงถามว่าจะแก้ไขได้อย่างไร
เปตรตอบว่าจะต้องทำพิธีอุทิศเครื่องอุปโภคบริโภคเป็นไทยทาน พระองค์จึงจะอยู่รอด
และจะมีพระชนมายุยืนนานอีกด้วย
พระอานนท์จึงทูลให้พระพุทธเจ้าทรงทราบ
และทรงโปรดให้ประกอบพิธีเมตตาธรรม ด้วยการโปรยทาน
งานบุญทิ้งกระจาดจึงเกิดขึ้นด้วยเหตุนี้
โดยเริ่มกลางเดือน 7 ของจีน แต่จะตรงกับเดือน 9
ของไทยทางจันทรคติ เป็นเวลา 5 วัน 5 คืน พอวันที่
3 จะเป็น วันทิ้งกระจาดฟ้า
โดยจะมีการทิ้งสิ่งของหรือไม้ติ้วที่มีหมายเลขเขียนไว้จากที่สูงลงมา
ผู้ที่มาชมงานถ้าใครรับไม้ติ้วได้หมายเลขไดก็นำไปรับสิ่งของตามหมายเลขนั้น
ซึ่งมีค่ามากน้อยลดหลั่นกันแล้วแต่โชค ส่วน งานทิ้งกระจาดดิน
จะต่างกับการทิ้งกระจาดฟ้าตรงที่ของนั้น
จะทิ้งไว้บนพื้นดิน เพราะถือว่าการทิ้งกระจาดดิน
เป็นการทิ้งทานให้แก่พวกภูตผีปีศาจทั้งหลาย
ในวันแรกของงานทิ้งกระจาดจะมีขบวนแห่ที่สวยงาม
มีความยาวและยิ่งใหญ่กว่างานใดๆในจังหวัด
มีขบวนเชิดสิงโต มังกร ขบวนธงทิว
โดยสาวงามจากท้องถิ่นต่างๆในจังหวัด
มีชุดฟ้อนรำลำกลองยาว ล่อโก๊ว
ที่สำคัญคือมีขบวนหาบสิ่งของเพื่อไปอัญเชิญเจ้าพ่อหลักเมือง
โดยนำมาเพียงกระถางธูปแทนเท่านั้น
จากนั้นก็นำมายังสถานพิธีที่สมาคมจีน
จะมีการออกร้าน แสดงสินค้า และมหรสพต่างๆ
โดยเฉพาะงิ้ว


|