ย้อนอดีตวันวาน
โชห่วย
ตลาดท่าช้าง
สถานที่รวบรวมของเก่าที่หาดูได้ยาก
และเป็นความสุขทางใจของผู้ที่รักการสะสมของเก่าที่วันวานไม่สามารถหวนกลับคืนได้
ถือเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของการมีชีวิตอยู่ของคนร่วมสมัย


"
ครั้งหนึ่ง เมื่อช่วง
30 กว่าปี ที่ผ่านมา
ขณะเฝ้าหน้าร้านขายของ ผมมองดูสินค้าในร้าน นึกในใจว่า
อยากเก็บสินค้าที่อยู่ในร้านอย่างละ
1 ชิ้น
เพื่อเก็บเป็นของสะสม คิดว่าถ้าเก็บให้นานที่สุด...
น่าจะเป็นของมีค่าในอนาคต
เพราะสินค้าทุกอย่างมีการเปลี่ยนรูปโฉมตลอด
แต่ก็เป็นเพียงแค่ความฝัน ไม่เคยคิดว่าวันนี้...
ฝันที่ผมคิดจะเป็นจริงขึ้นมา ไม่เคยคิดว่าจะทำได้
ถ้าไม่มีคำว่า... ศรัทธา
ผมอยากให้
ที่นี่เป็นส่วนหนึ่งของ จุดศึกษา. และเรียนรู้
วิถีชีวิตบางส่วนเสี้ยว กับระบบการค้า
ที่นับวันกำลังเริ่มสูญหายไปจากสังคมบ้านเรา....โช่ห่วย
"
ร้านโช่ห่วยตลาดท่าช้าง
http://www.facebook.com/pages/ร้านโช่ห่วยตลาดท่าช้าง
ประวัติตลาดท่าช้าง
ตลาดท่าช้างตลาดเก่าแก่อีกตลาดหนึ่ง
ซึ่งมีประวัติยาวนานกว่า 100 ปี
เช่นเดียวกันชุมชนตลาดเก่าหลายๆ
แห่งของจังหวัดสุพรรณบุรี
ตลาดท่าช้างเป็นตลาดใหญ่เหนือสุดริมแม่น้ำท่าจีน
และเป็นแหล่งศูนย์รวมการค้าใหญ่อีกแหล่งหนึ่งของจังหวัดสุพรรณบุรี
การค้าขายในอดีตที่เจริญรุ่งเรืองมาก
จนกระทั้งเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2501
ได้เกิดเพลิงไหม้เผาผลาญตลาดท่าช้างวอดเกือบหมด
เผาผลาญบ้านเรือนกว่า 600 หลัง
ซึ่งเพลิงได้ทำลายความสวยสดงดงามของบ้านเรือนเก่าแก่อันเป็นวิถีชีวิตในอดีตของชาวตลาดท่าช้างจนหมด
แต่ชาวตลาดท่าช้างก็ยังคงสร้างตัวจนกลับมาเจริญได้อีกครั้ง
ถึงแม้สภาพตลาดเก่าส่วนใหญ่จะเปลี่ยนแปลงไปหมด
แต่บางส่วนที่คงเหลือก็ยังคงมีเสน่ห์
และที่สำคัญชาวตลาดท่าช้างยังคงรักษาวัฒนธรรมการกินได้เป็นอย่างดี
มีอาหารทั้งเก่าและใหม่ที่อร่อยมากมายหลายชนิด


ตลาดท่าช้าง ปลายทางเมืองสุพรรณ
ย้อนไปราว
30 กว่าปี ก่อนจะมีถนนเส้น ตลิ่งชัน-สุพรรณบุรี
(340) การเดินทางสู่จังหวัดสุพรรณบุรี
โดยรถเมล์ประจำทาง มีเส้นทางหลัก ต้นทางที่สายใต้เก่า
(สามแยกไฟฉาย ถนนจรัญสนิทวงศ์) ออกถนนเพชรเกษม
มานครปฐม-กำแพงแสน-อู่ทอง-สุพรรณ-สามชุก
และจะจอดส่งผู้โดยสารปลายทางที่ตลาดท่าช้าง
ใช้เวลาเดินทางราว 5-6 ชั่วโมง
มีจุดจอดรับผู้โดยสารนานๆอย่างที่ตัวเมืองนครปฐม
นานแบบลงมาเดินช็อปปิ้งของกินแถวนั้นได้เลย
จำได้ว่าชอบซื้อข้าวหลามที่นครปฐมเป็นประจำ
ป้ายแช่ต่อมาก็ที่ อำเภออู่ทอง ท่านี้ก็จอดนานไม่น้อย
สินค้าที่โดดเด่นจะเป็นพวกกบ-เขียดตากแห้งตัวเล็กๆ
ที่หนีบด้วยไม้เป็นแถวแบบลูกชิ้นปิ้ง
เรื่อยๆมาจนถึงตัวเมืองที่สี่แยกแขวง (แขวงการทางจังหวัดสุพรรณ)
ท่านี้ก็หลับได้อีกงีบ มาตื่นอีกที่ก็เกือบถึงสามชุก
ถึงตรงนี้ก็เหลือผู้โดยสารไม่มากแล้ว
จากสามชุกอีกไม่ไกลก็ท่าตลาดนางบวช
และสุดปลายทางที่ตลาดท่าช้าง
ก้าวแรกที่ลงจากรถให้นึกถึงบรรยากาศหนังคาวบอยไทยสมัยก่อนยังไงยังงั้นเลย

ปัจจุบัน
บรรยากาศของตลาดท่าช้างก็ไม่ได้แตกต่างจากเมื่อ 30
ปีมากนัก สภาพบ้านเรือนวิถีชีวิตก็ยังคล้ายๆสมัยก่อน
การเดินทางโดยรถโดยสารก็สะดวกและรวดเร็วขึ้น
เดิมที่เดียว ตัวตลาดท่าช้างเป็นตลาดเก่าแก่
มีอายุกว่า 100 ปี
เป็นชุมชนขนาดใหญ่อยู่ตอนเหนือสุดของเมืองสุพรรณ
และเป็นตลาดที่ติดริมแม่น้ำท่าจีนอีกแห่งหนึ่ง
แต่เมื่อปี พ.ศ. 2501 เกิดไฟใหม้ตลาด
ทำให้บ้านเรือนโบราณที่สร้างด้วยไม้
ถูกเผาทำลายไปเสียส่วนใหญ่
คงหลงเหลือเพียงบ้านที่อยู่รอบๆ ห่างออกมาไม่กี่หลัง (อย่างร้านอาหารเล็กเสี่ยวหงส์)
แต่ถึงจะโดนเผาทำลายไปแล้ว แต่ตลาดที่สร้างขึ้นมาใหม่
ปัจจุบันอายุก็กว่า 50 ปีแล้ว
รวมกับบ้านเก่าที่หลงเหลืออยู่ วิถีชีวิต
และอาหารการกิน ก็เป็นเสน่ห์ที่ค้นหา
สำหรับนักเดินทางที่ชอบบรรยาศของการท่องเที่ยว
ที่ไม่ใช่สถานที่ท่องเที่ยว



 |