|
|
|
มูลนิธิข้าวขวัญ
|
เส้นทางเดินและจุดแวะพัก " โครงการเดินเพื่อผู้ป่วย (Cannabis Walk Thailand)"
มูลนิธิข้าวขวัญ มูลนิธิข้าวขวัญเป็นองค์กรพัฒนาเอกชน
ที่ดำเนินงานด้านการพัฒนาเทคโนโลยีทางการเกษตรที่เหมาะสมกับท้องถิ่น
พัฒนาพันธุกรรมข้าว และพืชพื้นบ้าน
วิจัยและพัฒนาผลกระทบของสารเคมีทางการเกษตร
ตลอดจนค้นหาทางเลือกร่วมกับเกษตรกรในการทำเกษตรที่ไม่ใช้สารเคมี http://www.khaokwan.org/khaokwan.html
ข้าวขวัญ สุพรรณ อำเภอเมือง
ข้าวเกษตรอินทรีย์ ของดีเมืองสุพรรณ
ประวัติการเกิดขึ้นของข้าวขวัญสุพรรณ
เริ่มจากมูลนิธิข้าวขวัญ
ได้พัฒนาพันธุ์ข้าวให้เหมาะสมกับระบบเกษตรอินทรีย์ ต้านทานโรค
ให้ผลผลิตสูง รสชาติอร่อย
เป็นการผสมพันธุ์กันระหว่างข้าวพันธุ์พื้นเมืองและข้าวนาปรัง
เพื่อให้พันธุ์ข้าวที่ได้นั้นสามารถปลูกในระบบนาปรัง
และมีการปลูกทดสอบถึง
8 ครั้ง
จากนั้นจึงแจกให้ชาวนานำไปปลูกทดสอบและคัดเลือกต่อในพื้นที่
บ้านลุ่มบัว อ.เมือง เป็นจำนวน 5 สายพันธุ์
187 ตัวอย่าง โดยมีพันธุ์ ขาวตาเคลือบ
เหลืองอ่อน เจ๊กเชยเบา พญาชม มะลินาปรัง
ซึ่งเมื่อต้นข้าวออกรวงก่อนเก็บเกี่ยว ได้มีเกษตรกร 127
รายจาก 18 จังหวัด
มาทำการคัดเลือกตัวอย่างที่ชอบคนละ 15 ตัวอย่าง
นำไปปลูกทดสอบที่บ้านลุ่มบัว อ.เมือง 15
ตัวอย่าง และบ้านดอน อ.อู่ทอง 15
ตัวอย่าง
ในโครงการความร่วมมือนี้ ได้มีกลุ่มภาคีร่วม อันได้แก่
สภาอุตสาหกรรมจังหวัดสุพรรณบุรี สมาคมโรงสีข้าวจังหวัดสุพรรณบุรี
มูลนิธิข้าวขวัญ หอการค้าจังหวัดสุพรรณบุรี
สำนักงานเกษตรจังหวัดสุพรรณบุรี สำนักงานพาณิชย์จังหวัดสุพรรณบุรี
สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสุพรรณบุรี ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8
สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสุพรรณบุรี
ศูนย์วิจัยข้าวจังหวัดสุพรรณบุรี และกลุ่มเกษตรกรชาวนา
ซึ่งได้มีการทำพิธีลงนามข้อตกลงความร่วมมือร่วมกันที่จะพัฒนาพันธุ์ข้าวพื้นเมือง
เพื่อพัฒนาเป็นข้าวของจังหวัดสุพรรณบุรี
ซึ่งปลอดจากสารเคมีฆ่าแมลงและปุ๋ยเคมี และนำมาแปรรูปเพื่อจัดจำหน่ายให้กับผู้บริโภค
ซึ่งในบันทึกความร่วมมือนั้น ได้แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ เป็น 3 ส่วน
ได้แก่ สภาอุตสาหกรรมจังหวัดสุพรรณบุรี ภาคเกษตรกร และมูลนิธิข้าวขวัญ
โดยในพิธีลงนามข้อตกลงนั้น
ได้รับเกียรติจากท่านรองผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี มาเป็นประธาน
และร่วมลงนามเป็นสักขีพยานร่วมกับนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุพรรณบุรี
และประธานหอการค้าจังหวัดสุพรรณบุรี โดยมีเป้าหมายหลักของโครงการก็คือ
ความรับผิดชอบร่วมกันของภาคีร่วม
เป็นความร่วมมือในการสนับสนุนให้โครงการดังกล่าวบรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์
เป็นรูปธรรม และเจริญก้าวหน้ามั่นคง ตามโครงการที่กำหนดไว้ มาจนถึง ณ ปัจจุบัน เกษตรกรได้ทำการเก็บเกี่ยว จนครบทุกแปลงนาที่เข้าร่วมโครงการ และได้ทำการแปรรูปเป็น ข้าวสารสต๊อกไว้เรียบร้อยแล้ว เพื่อรอการบรรจุถุง โดยวิธีการบรรจุแบบสุญญากาศ ถุงละ 1 กิโลกรัม ทั้งนี้ก็เพื่อความสะดวกในการ ซื้อ ขาย ซึ่ง ณ ตอนนี้ก็ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เป็นภาคีร่วมในการประชาสัมพันธ์และสนับสนุน ข้าวขวัญสุพรรณ เพื่อออกสู่ตลาด ให้เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค ต่อไป
มูลนิธิข้าวขวัญ
|
![]()
|
ค่าพิกัด
GPS
|
Last modified:
11/06/19
จังหวัดสุพรรณบุรี
Suphanburi
|
สถานที่ท่องเที่ยว |
ที่พัก-รีสอร์ท
|
ร้านอาหาร
|
แผนที่
|
การเดินทาง
|
Other