             
|
ลาวเวียง บ้านดอนคา
ลาวเวียง เป็นชื่อเรียกกลุ่มคนที่มีเชื้อสายลาว
อพยพจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
แต่บางคนเรียกว่า ลาวตี้
เนื่องจากคนกลุ่มนี้จะมีคำลงท้ายประโยคว่า ตี้ เสมอ
ลาวเวียงเข้ามาตั้งถิ่นฐานปลูกบ้านสร้างเรือนในสมัยสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เป็นชุมชนเก่าแก่อายุกว่าร้อยปี
มีวัฒนธรรมและประเพณีเป็นของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นภาษา
ดนตรี และประเพณีต่างๆ อาทิเช่น บุญเดือน 3
(บุญข้าวจี่) สารทลาว ประเพณีบุญบั้งไฟ เป็นต้น
|
 |


ประเพณีบุญบั้งไฟตำบลดอนคา
ประจำปี 2559
19 20 พฤษภาคม
2559
ณ บริเวณลานตากข้าวสี่แยกตีนเป็ด
ตำบลดอนคา อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
องค์การบริหารส่วนตำบลดอนคา ร่วมกับ
องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุพรรณบุรี และวัดโภคาราม
กำหนดจัดงานสืบสานประเพณีบุญบั้งไฟตำบลดอนคา ประจำปี 2559
ในระหว่างวันที่ 19 20 พฤษภาคม 2559 กิจกรรมภายในงานวันที่
19 พฤษภาคม 2559 เวลา 17.00 น. จะมีการประกวดขบวนแห่บั้งไฟ
การแสดงของชุมชนพื้นบ้านลาวเวียง ณ บริเวณวัดโภคาราม และวันที่
20 พฤษภาคม 2559 เวลา 09.30 น. จะมีการแข่งขันจุดบั้งไฟ
เพื่อเป็นการสืบทอดและอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีบุญบั้งไฟ ณ
บริเวณลานตากข้าวสี่แยกตีนเป็ด
ซึ่งเป็นประเพณีที่สำคัญซึ่งสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ
และได้จัดต่อเนื่องกันมาเป็นประจำทุกปี
การจัดงานดังกล่าวเป็นการบูชาเทวดาให้ฝนตกถูกต้องตามฤดูกาล
มีน้ำไว้ทำการเกษตรตามความเชื่อดั้งเดิม
และชาวตำบลดอนคาก็ให้ความสำคัญกับประเพณีบุญบั้งไฟเป็นอย่างมาก
เพื่อให้ประเพณีนี้ได้เป็นมรดกตกทอดไปยังอนุชนรุ่นหลังสืบต่อไป
ชาวชุมชนตำบลดอนคา อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
เป็นชุมชนเก่าแก่อายุกว่าร้อยปี
ประชากรในชุมชนส่วนใหญ่เป็นชาวลาวเวียง
ในอดีตสันนิษฐานกันว่าน่าจะอพยพมาตั้งถิ่นฐานในสมัยรัชกาลที่ 3
แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีวัฒนธรรมและประเพณีเป็นของตนเอง
ไม่ว่าจะเป็นภาษา ดนตรี และประเพณีต่างๆ อาทิเช่น บุญเดือน 3
(บุญข้าวจี่) สารทลาว ประเพณีบุญบั้งไฟ เป็นต้น
ททท.สำนักงานสุพรรณบุรี
จึงขอเชิญชวนนักท่องเที่ยวและผู้ที่สนใจ
ร่วมชมงานประเพณีบุญบั้งไฟ ของตำบลดอนคา อำเภออู่ทอง
จังหวัดสุพรรณบุรี
เพื่อได้มีส่วนร่วมอนุรักษ์สืบทอดวัฒนธรรมประเพณีบุญบั้งไฟ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่...
องค์การบริหารส่วนตำบลดอนคา โทร.
035-421444
วัดโภคาราม โทร. 081-8801246
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานสุพรรณบุรี
โทร. 035 525867,035-525880
www.tatsuphan.net
 |



สมัยเจ้าอนุวงศ์ จากนครเวียงจันทร์
คิดกบฏต่อแผ่นดินตั้งตนเป็นใหญ่
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
จึงได้ไปปราบปรามที่ทุ่งสัมฤทธิ์
และได้กวาดต้อนผู้คนชาวลาวมาตั้งถิ่นฐานบ้านเรือน
แถบจังหวัดลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี และสุพรรณบุรี ฯลฯ
เมื่อประมาณ 200 ปีที่ผ่านมา
เวลาที่ล่วงเลยมานานทำให้คนไทยเชื้อสายลาวเหล่านี้
ไม่สามารถทราบได้ว่า บรรพบุรุษอพยพมากันตั้งแต่เมื่อใด
และเพราะเหตุใด
การกินการอยู่ ส่วนมากจะชอบทานปลาร้า ปลาส้ม น้ำพริก
ต้มผักจิ้ม ผักสวนครัวก็จะปลูกเองเป็ดไก่
ก็จะเลี้ยงไว้ ปูปลาก็หากินง่าย
พอได้มาก็ใส่เกลือตากแดดไว้กินตอนหน้าแล้งประชากรมีน้อย
ประเพณีที่สำคัญของบ้านดอนคา คือประเพณีบุญเดือน 10
ชาวบ้านทุกครัวเรือนจะกวนขนมกระยาสารท ประกอบไปด้วย
น้ำตาล ถั่ว งา ข้าวตอกข้าวพอง
นำมากวนผสมให้เข้ากันเพื่อนำมาถวายแด่พระสงฆ์
ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10
เพราะตั้งแต่สมัยอดีตกาลนั้น ช่วงฤดูเข้าพรรษา
เป็นฤดูแห่งการทำนาและเก็บเกี่ยวพืชพันธุ์ธัญญาหาร
จึงได้นำพืชผลที่เก็บเกี่ยวได้มาทำขนมกระยาสารทเป็นประเพณีสืบต่อกันมา
ซึ่งบ้านดอนคานั้นได้ให้ความสำคัญกับประเพณีบุญเดือน
10
เป็นอย่างมากทุกชุมชนหมู่บ้านจะต้องนำสิ่งของมาทำบุญที่วัดโภคาราม
บ้านดอนคาเป็นหมู่บ้านที่อุดมสมบูรณ์ กลางเดือน 10
ประเพณีสาทลาว จะมีเรือมาส กว้าง 5 ศอก ยาว 12 ศอก
บรรทุกกล้วยอ้อยมาจากคลองสะพานดำ คณฑี วังระดม สามง่าม
หนองบ้านตาแหลว หนองบอน สามแยกหนองโอ่ง หนองจอกเกี้ย
หนองป่าทมหนา สามแยกทางหลวง หนองกระเบียน ห้วยหนองไฮ
ห้วยใหญ่ ตระกล้า ฮ่อมถันเอก วัดเก่า
ตอนกลางคืนจะมีชาวบ้านมาเล่นฟันอ้อย พวกเด็ก ๆ
ที่อดยาก จะมาคอยดูเวลาเขาฟันอ้อยขาด
ก็พากันแย่งปลายอ้อยเอาไปกัดกินกันด้วยความอร่อย
ตำนานเล่าขานกันมาถึงบรรพบุรุษของบ้านดอนคา
ดูข้อมูลเพิ่มเติม
http://www.donkha.com/content/view/25/36/
|
|

ตั้งอยู่ที่ตำบลดอนคา อำเภออู่ทอง
จังหวัดสุพรรณบุรี
ติดต่อสอบถาม
องค์การบริหารส่วนตำบลดอนคา โทร. 035-421444
ค่าพิกัด
GPS
14.474851, 99.940029
|
|

สถานที่ท่องเที่ยว
อำเภออู่ทอง
ศูนย์พันธุ์พืชเพาะเลี้ยง
วัดเขาดีสลัก
พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ อู่ทอง
วัดเขาพระศรีสรรเพชญาราม
วนอุทยานพุม่วง-คอกช้างดิน
บ้านขาม
สวนหินธรรมชาติ พุหางนาค
สวนกล้วยอู่ทอง
วัดเขาทำเทียม
สถานปฏิบัติธรรมปู่ฤๅษีนารอด
NPJ Fantasy
ศาลเจ้าพ่อพระยาจักร
ลาวเวียง
บ้านดอนคา

|