|
พระอาจารย์ธรรมโชติ
|
วัดเขาขึ้น
(วัดเขานางบวช)
ประวัติพระอาจารย์ธรรมโชติ
บางข้อมูลอ้างว่า เมื่อครั้งค่ายบางระจันแตก ท่านได้ไปจำพรรษา ที่วัดนครจำปาศักดิ์อยู่สามปี เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช กู้ชาติกลับคืนได้ ท่านได้เดินทางกลับมายังสำนักเขาขึ้น และได้รับสมณศักดิพัดยศเป็น พระครูธรรมโชติรังษี จากสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระอาจารย์ธรรมโชติ มรณะภาพเมื่ออายุ 82 พรรษา หลายคนยังเชื่อว่าท่านหายสาบสูญไปกับค่ายบางระจัน ด้วยเหตุที่ท่านเก็บตัวไม่รับแขก จึงเป็นที่มาว่าท่านถูกข้าศึกฆ่าตาย
ประวัติ
และที่มาของวัดเขานางบวช
สถานที่สำคัญภายในบริเวณวัดเขานางบวช
วิหารพระอาจารย์ธรรมโชติ
ภายในเป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาท
มีหลุมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 6 นิ้ว
เพื่อให้ประชาชนได้โยนเหรียญลงไปทำบุญ
ในวิหารด้านหลังมีร่องรอยการเจาะผนังวิหารทะลุไปยังองค์เจดีย์ที่ก่อด้วยแผ่นหินบาง
ๆ วางซ้อนเป็นรูปเจดีย์ขนาดไม่สูงมาก
เจดีย์สร้างติดกับผนังวิหาร
ก่อนที่ค่ายบางระจันแตก
ชาวบ้านนิมนต์พระอาจารย์ธรรมโชติให้หนีไป
แต่ท่านไม่หนีจนในที่สุด
หัวหน้าชาวบ้านบางระจันบอกว่า
มีอาจารย์คนเดียวเป็นพระ
จะได้กลับมาทำศพพวกเรา
ท่านถึงยอดออกจากหลังค่ายหนีไป หลังจากนั้น 3
วัน ค่ายบางระจันก็แตก พระอาจารย์ธรรมโชติ
ก็นำคนมาช่วยเก็บศพทำบุญให้ หลายคนเข้าใจว่า
ท่านใช้วิชากสิณชั้นสูง
กลับไปวัดเขานางบวชแล้วหลบซ่อนอยู่ในอุโมงค์ใต้วิหาร
เป็นอุโมงค์ที่กว้างพอจะเข้าไปอยู่ได้สัก 5 -6
คน
เรื่องเหล่านี้อาจารย์ธรรมโชติท่านบันทึกไว้ทั้งหมด
เพราะท่านเป็นพระที่รู้หนังสือ
พระราชหัตถเลขา เรื่องเสด็จประพาสลำน้ำมะขามเฒ่า กล่าวถึงวัดเขานางบวช
เมื่อวานนี้เรื่อครุฑจักรฟันไม้ลอยน้ำบิ่น
จึงต้องยกย้ายขึ้นเปลี่ยนจักรใหม่ ยังไม่แล้ว
อีกประการหนึ่ง
ทางที่จะไปวันนี้ต้องเลี้ยวเข้าไปในทุ่ง
ไปได้แต่เรือเล็ก จึงได้ลงเรือศรีเทพออกจากเดิมบาง
ไปทางน้ำประมาณสักชั่วโมงหนึ่ง
จนถึงนางบวชซึ่งมีตำบลบ้านและมีสะพานยาวเข้าไปจนถึงเขา
แต่สะพานนั้นน้ำท่วม เรื่อเข้าไปจอดได้ถึงเชิงเขา
ลักษณะเขาสมอคอน ในแม่น้ำตอนตั้งแต่เดิมบางลงมา
ปรากฏว่าเป็นแม่น้ำใหม่
น่าจะเรียกว่าลำคลองมากกว่าแม่น้ำ เพราะไม่มีไม้ใหญ่
มีแต่ไผ่และแคบกว่าลำแม่น้ำตอนข้างบนมาก
ลำแม่น้ำเดิมไปทางกำมะเชียน
เมื่อถึงนางบวชแล้วเลี้ยวซ้ายเข้าในคลอง
หรือในทุ่งเข้าไปถึงเชิงเขา มีกุฏิพระมุงแฝกหลังใหญ่ 3
หลัง มีพระสงฆ์อยู่ถึง 7 รูป
มีโรงพักสัปบุรุษและสระบัว ทางที่ขึ้นเขาเป็นสองทาง
ตรงขึ้นไปเหมือนธรรมามูลทางหนึ่ง
เลี้ยวอ้อมไปที่ไม่สู้ชันทางหนึ่ง
เขาเป็นลักษณะเดียวกันกับเขาธรรมามูลหรือโพธิ์ลังกา
ไม่ใคร่มีต้นไม้อื่นนอกจากไม้รวกเต็มไปทั้งเขา
ฤดูแล้งแห้ง ใบร่วงเกิดเพลิงบ่อย ๆ
เพราะฉะนั้นหลังคาโบสถ์วิหารไม่ใคร่อยู่ได้
ที่ลานบนหลังเขา ยาวประมาณสัก 30 วา
เกือบเท่ากับวัดราชประดิษฐ์ แต่แคบกว่า
ดูเป็นลานกว้างขวางสบายดีกว่าธรรมามูล
ที่บนนั้นมีพระอุโบสถหลังหนึ่ง 5 ห้อง
ไม่มีหน้าต่างก่อเว้นช่องอย่างพุทไธศวรรย์
แต่หลังคาไม่มีมุงแฝกคลุมไว้
พระที่ตั้งอยู่บนฐานชุกชีเป็นพระพุทธรูปศิลาปั้นปูนประกอบปิดทอง
ฐานทำลายรักปิดทองอย่างดีเต็มไปทั้งฐานชุกชี
ผนังโบสถ์ด้านหนึ่งก่อเป็นแท่นเหมือนอาสนสงฆ์
ตั้งพระพุทธรูป เป็นพระยืนขนาดใหญ่ ๆ
เห็นจะเป็นพระเท่าตัวฝืมือดี ๆ
อย่างโบราณสวมเทริดหน้าต่าง ๆ แต่ชำรุดทั้งสิ้น
ได้สั่งอัญเชิญลงมาจะปฏิสังขรณ์ 4 องค์
ถ้าแล้วเสร็จะส่งกลับขึ้นไปไว้ที่เขานั้นบ้าง
เสมาใช้ศิลาแผ่นใหญ่ ๆ อย่างเสมาวัดหลวงกรุงเก่า
มีกำแพงแก้วรอบไปจนกระทั่งพระเจดีย์และวิหารด้วย
แต่วิหารนั้นเป็นที่น่าสงสัยอยู่ว่าจะทำเป็นสองคราว
เพราะกระชั้นพระเจดีย์นักไม่ได้ไว้ช่องอีก
มีช่องหน้าต่างเล็ก ๆ สูงสักศอกเดียว
กว้างคืบเศษสองช่องเท่านั้น
ท้ายวิหารจดฐานพระเจดีย์มีทางเข้าไปในองค์พระเจดีย์
ที่กำแพงแก้วมีพระเจดีย์ประจำมุม เห็นจะมีถึงด้านละ 8
องค์ พระเจดีย์นั้นก็แว่นฟ้า 3
ชั้นข้างบนตั้งรูปพระเจดีย์ปั้นดินเผาสีดำบ้างขาวบ้างเผาแข็งแกร่ง
ได้นำลงมาเป็นตัวอย่างองค์ 1
มีศาลายาวก่ออิฐแต่ไม่มีหลังคา
เห็นจะเป็นที่จำศีลภาวนาคงจะได้มุงกระเบื้องกระบูทั้งนั้น
เหลือหลังคาอยู่แต่วิหาร
ทางที่จะแลเขานางบวชนี้สู้เขาพระไม่ได้
เพราะเหตุที่มีต้นไม้บังอยู่เสียข้างหนึ่ง
แต่การซึ่งขึ้นไปบนยอดเขาเหล่านี้
มีประโยชน์ที่จะได้เห็นภูมิพื้นที่ว่าเป็นอย่างไร
ข้อที่เราเห็นเมื่อเวลามาในแม่น้ำว่าเหมือนมาในดงไม้ใหญ่
แต่ที่จริงแล้วขึ้นไปที่สูงแล้วแลเห็นว่าไม่มีดงแห่งใด
หลังหมู่ไม้เข้าไป ก็เป็นท้องนาทั่วไป
มีท้องนากับป่าไผ่จนสุดสายตาทุกทิศ
ไม่มีที่ว่างเปล่าในที่แห่งใดเลย
ป่าไผ่นี้ก็เป็นลักษณะเดียวกันกับป่าสนของเมืองฝรั่ง
ของเขาปลูกเหย้าเรือนด้วยไม้สน
ของเราก็สำเร็จด้วยไม้ไผ่เป็นที่งามบริสุทธิ์ดีทุกแห่ง
วัดเขาขึ้น (วัดเขานางบวช)
ค่าพิกัด
GPS
แผนที่การเดินทาง
|
|
|
Last modified:
05/08/20
จังหวัดสุพรรณบุรี
Suphanburi
|
สถานที่ท่องเที่ยว |
ที่พัก-รีสอร์ท
|
ร้านอาหาร
|
แผนที่
|
การเดินทาง
|
Other