วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี

 

วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ

 

 

แต่งชุดไทย ไหว้พระธาตุ

ย้อนรอยประวัติศาสตร์เมืองสุพรรณ

วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน 2565 ณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดสุพรรณบุรี

 

 

 

 

วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี

 

วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ อำเภอเมือง
   
อยู่ในตำบลรั้วใหญ่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำสุพรรณบุรี ถนนสมภารคงแยกจากถนนมาลัยแมน ไปประมาณ 300 เมตรในสมัยก่อนเป็นศูนย์กลางของเมืองสุพรรณภูมิ เป็นวัดคู่บ้านคู่เมือง สันนิษฐานว่ามีอายุไม่ต่ำกว่า 600 ปี ปรางค์องค์ประธาน เป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ เมื่อปี พ.ศ. 2456 ชาวบ้านลักลอบขุดค้นหาทรัพย์สินจนทรุดโทรมไปมาก พระพิมพ์ผงสุพรรณบุรีที่โด่งดังมาก อันเป็นหนึ่งใน “เบญจภาคี” ก็ได้ไปจากกรุในองค์พระปรางค์นี้ และพระเครื่องที่มีชื่อเสียงอื่นๆ ที่นอกเหนือจากพระผงสุพรรณ เช่น พระกำแพงศอก พระมเหศวร พระสุพรรณยอดโถ พระสุพรรณหลังผาน ตลอดจนพระเนื้อชินต่างๆ ซึ่งปัจจุบันหายาก นักโบราณคดีหลายท่านให้ความเห็นว่า น่าจะเป็นศิลปะการก่อสร้าง ในสมัยอู่ทองสุพรรณภูมิ เพราะหลักฐานการก่อสร้าง เป็นการก่ออิฐไม่ถือปูน ซึ่งเป็นวิธีการเก่าแก่ก่อนสมัยอยุธยา

 

 วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี

วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี

วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี

เดิมเป็นวัดสำคัญของเมืองโบราณสุพรรณบุรีมาตั้งแต่สมัยอยุทธยาตอนต้น ก่อนถูกทิ้งร้างไปช่วงระยะเวลาหนึ่ง เมื่อคราวสงครามเสียกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ก่อนถูกทิ้งร้างไปช่วงระยะเวลาหนึ่ง เมื่อสงครามเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 เมื่อพุทธศักราช 2310 จากนั้นจึงมีการบูรณปฎิสังขรณ์ใหม่ อีกครั้ง ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

ประวัติการสร้างวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี ปรากฎในจารึกบนแผ่นลานทองที่พบจากกรุพระปรางค์ และยอดนภศูล เมื่อพุทธศักราช 2456 ข้อความในจารึกระบุถึงการสร้างพระสถูป (องค์พระปรางค์) ของพระมหากษัตริย์ และการปฎิสังขรณ์ โดยพระราชโอรสในสมัยต่อมา ซึ่งนักวิชาการมีความเห็นว่า พระมหากษัตริย์ผู้ทรงสร้าง อาจหมายถึงสมเด็จพระนครินทราธิราช หรืออาจหมายถึงสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่2 (เจ้าสามพระยา) จึงนำไปสู่ข้อสันนิษฐานว่า วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี สถาปนาขึ้นช่วงต้นกรุงศรีอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 20) ระหว่างรัชกาลใดรัชกาลหนึ่ง

แผนผังสถาปัตยกรรม ประกอบไปด้วย เจดีย์ทรงปรางค์เป็นประธานของวัด ด้านข้างมีปีกปรางค์หรือปรางค์ขนาดเล็กขนาบปรางค์ประธานทั้งสองข้าง ทำระเบียงคตล้อมอยู่โดยรอบ ด้านนอกระเบียงคตมีวิหารหลวงอยู่ด้านหน้าทางทิศตะวันออก และอุโบสถอยู่ด้านหลังทางทิศตะวันตก โดยสร้างอยู่แนวเดียวกับปรางค์ประธาน ตามความนิยมในสมัยกรุงศรีอยธยาตอนต้น นอกระเบียงคตยังมีวิหารราย และเจดีย์รายอีกหลายองค์รายล้อมอยู่โดยรอบ

กรมศิลปากร ประกาศขึ้นทะเบียนวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี เป็นโบราณสถานสำคัญสำหรับชาติ ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 52 หน้า 3710 วันที่ 8 มีนาคม 2478 หลังจากนั้นได้มีการดำเนินงานขุดศึกษาโบราณคดี และบูรณะโบราณสถานบางส่วนเป็นระยะ และปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์จนแล้วเสร็จ เมื่อพุทธศักราช 2562

ที่มาข้อมูล: สำนักศิลปากรที่ 2 สุพรรณบุรี

 

วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี

วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี

ลักษณะทางศิลปกรรม และสถาปัตยกรรมของพระปรางค์

พระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุสุพรรณบุรี ก่อด้วยอิฐสอดิน ผิวด้านนอกฉาบปูนส่วนฐานทำเป็นชุดฐานบัวลูกฟัก สี่เหลี่ยมย่อมุมซ้อนลดหลั่นกันขึ้นไป 4 ชั้น รองรับองค์เรือนธาตุ ลักษณะมุมมีมุมประธานซึ่งมีขนาดใหญ่อยู่กลาง มุมย่อยซึ่งมีขนาดใหญ่อยู่กลาง มุมย่อยซึ่งมีขนาดเล็กกว่าขนาบทั้งสองข้าง

องค์เรือนธาตุสอบโค้งเข้าหาส่วนบน ย่อมุมรับกับส่วนฐาน มีมุมซุ้มจระนำทั้ง 4 ด้าน เฉพาะด้านทิศตะวันออกทำเป็นคูหา ประดิษฐานพระปรางค์จำลอง ผนังห้องคูหาทั้ง 3 ด้านฉาบปูนเรียบ เพดานบุด้วยแผ่นไม้กระดาน และมีบันไดขึ้นสู่คูหาเพียงด้านเดียว หน้าบันเรือนธาตุทำเป็นซุ้มลดซ้อนกัน 2 ชั้น ประดับลวดลายปูนปั้นเป็นรูปมกรและนาค บริเวณชั้นบัวรัดเกล้าปรากฏรูปเทพพนมระหว่างมกรและนาค บริเวณชั้นบัวรัดเกล้าปรากฏลวดลายปูนปั้นเป็นรูปอุบะและกลีบบัว อันเป็นแบบประเพณีนิยมสมัยอยุธยาตอนต้นสามารถเปรียบเทียบได้กับชั้นบัวรัดเกล้าที่พระปรางค์วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เหนือขึ้นไปเป็นชั้นเชิงบาตรครุฑแบก ยักษ์แบก แต่ปัจจุบันปรากฏเพียงปูนปั้นรูปยักษ์บริเวณมุมย่อยเท่านั้น นอกจากนี้บริเวณหน้ากระดานของวิมานชั้นแรกยังปรากฏลวดลายปูนปั้นเป็นรูปหงส์ รูปใบไม้ ในกระจกอีกด้วย ส่วนยอดพระปรางค์ประกอบด้วยชั้นวิมานจำลองซ้อนลดหลั่นกันขึ้นไป 7 ชั้น สอบโค้งเข้าหาปลาย บริเวณมุมและด้านประดับด้วยกลีบขนุนและซุ้มบันแถลง ยอดพระปรางค์ประดับด้วยนภศูล

 

วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี

ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี

วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี

เมื่อ พ.ศ. 2456 ในคราวขุดกรุพระปรางค์วัดนี้ได้พบจารึกลานทองหลายลานด้วยกัน ที่สำคัญคือ จารึกที่กล่าวถึงกษัตริย์สองพระองค์ที่ทรงสร้างและทรงซ่อมพระปรางค์องค์ดังกล่าวไว้ด้วย (จารึกหลักที่ 47) ) ซึ่งอายุของจารึกลานทองแผ่นนี้ นักภาษาโบราณหลายท่าน ( ก่องแก้ว วีรประจักษ์, เทิม มีเต็ม , อุไรศรี วรศะริน ) ให้ความเห็นว่า อักษรในจารึกลานทองแผ่นนี้เป็นรูปอักษรในราวพุทธศตวรรษที่ 24 สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น แต่เมื่อพิจารณาตามข้อความในจารึกและพระนามพระมหากษัตริย์แล้วจะเห็นว่าเป็นพระนามกษัตริย์ในสมัยอยุธยา ขัดกันกับรูปอักษรมาก ในขณะที่พิจารณาทางรูปแบบศิลปกรรมศิลปกรรมขององค์ปรางค์ก็เป็นศิลปกรรมสมัยอยุธยา จึงมีทางเป็นไปได้ว่า จารึกลานทอง หลักที่ 47 วัดพระศรีรัตนมหาธาตุนี้เป็นจารึกที่สร้างขึ้นใหม่ โดยใช้อักษรข้อความลอกเลียนแบบจารึกของเดิมซึ่งชำรุด

ในปี พ.ศ. 2542-2543 ฝ่ายวิชาการ สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 2 สุพรรณบุรี ได้ดำเนินงานขุดค้นบริเวณวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พบว่าบริเวณดังกล่าวนี้ปรากฏร่องรอยกิจกรรมของมนุษย์ในอดีตมาแล้วตั้งแต่พุทธศตวรรษที่
17

ที่มาข้อมูล http://www.finearts.go.th.html

 

 

พระผงสุพรรณ

พระผงสุพรรณ มีแหล่งกำเนิดจากวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดสุพรรณบุรี เนื้อเป็นเนื้อดินเผาละเอียด ปราศจากเม็ดแร่ มีหลายสี เช่น สีแดง สีเขียว สีดำ และสีมอย(ดำจางๆคล้ายผงธูป)
พระผงสุพรรณพิมพ์ที่นิยมในวงการมีอยู่ 3 พิมพ์ ด้วยกันคือ
1 พิมพ์หน้าแก่
2 พิมพ์หน้ากลาง
3 พิมพ์หน้าหนุ่ม

พระผงสุพรรณได้ปรากฏหลักฐานว่าขุดพบที่พระปรางค์องค์ใหญ่ของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เมื่อปี พ.ศ.2456 โดยท่านพระยาสุนทรบุรี เจ้าเมืองสุพรรณในขณะนั้นได้สั่งให้มีการเปิดกรุ อย่างเป็นทางการ เพราะปรากฏว่ามีคนร้ายลักลอบขุดพระปรางค์องค์ใหญ่ อยู่บ่อยครั้งซึ่งได้ พบพระบูชาและพระเครื่องมากมายหลายพิมพ์ แม้แต่พระทองคำก็มีไม่น้อย นอกจากนี้ยังพบแผ่นลานเงิน แผ่นลานทองซึ่งได้บันทึกจารหลักฐานไว้ทำให้ชนรุ่นหลังได้ทราบว่า ในปี พ.ศ.1890 สมเด็จพระบรมราชาธิบดีที่1 ทรงมีศรัทธาในพระบรมพุทธศาสนา ได้ทรงอัญเชิญพระมหาเถร- ปิยะทัสสีสารีบุตร ให้เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ พระฤาษีทิวาลัยเป็นประธาน ฝ่ายฤาษี ร่วมกันสร้าง พระพุทธปฏิมากร เพื่อเป็นการสืบศาสนา พระผงสุพรรณเป็นพระเครื่องสกุลสูงเปรียบได้ว่าเป็นพระชั้นกษัตริย์ ของเมืองสุพรรณบุรี พุทธลักษณะเป็นพระสี่เหลี่ยมทรงชะลูดจนดูเกือบจะเป็น สามเหลี่ยมตัดปลาย มีบางองค์ถูกถูกตัดปลายออกสองด้านจนกลายเป็นห้าเหลี่ยมก็มี องค์พระนั่ง ปางมารวิชัยประทับบนฐานชั้นเดียวพระพักตร์แตกต่างกันออกไปตามพิมพ์ ด้านหลังปรากฏลาย นิ้วมือแบบ" ตัดหวาย "ทุกองค์ เป็นศิลปะแบบอู่ทอง

พระมเหศวร วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ รุ่นตำนานแผ่นดิน
สมทบทุนบูรณะวัดพระศรีรัตมหาธาตุ
วันศุกร์ที่ 30 มีนาคม 2555 เวลา 9.00 น พิธีมหาพุทธาพิเษก

จากคุณยายฮ้วน สู่คุณลุงมนัส ตกทอดมายังบุตรชายคนเล็ก ยืนยง โอภากุล วันนี้แอ๊ด คาราบาว มาทำพิธีบวงสรวงและเทพิมพ์ชุดแรกเพื่อเตรียมการเข้าพิธีในเดือนมีนาคม 2555 รวม 25,550 องค์ ท่านที่มีจิตศรัทธาบุชาได้องค์ละ 1,000 บาท เพื่อ สมทบทุนบูรณะวัดพระศรีรัตมหาธาตุ คู่เมืองสุพรรณบุรี

"พระมเหศวร" นับเป็นพระยอดนิยมอันดับต้นๆ ของจังหวัดสุพรรณบุรี ได้รับการยอมรับและยกย่องให้เป็นหนึ่งในพระยอดขุนพลของเมืองไทย เป็นพระพิมพ์ที่น่าสนใจทีเดียวครับผม

พิมพ์ทรงของ "พระมเหศวร" ดูแล้วออกจะแปลกๆ แต่ก็ต้องยอมรับในภูมิปัญญาของคนไทยสมัยก่อนกับการรังสรรค์งานปฏิมากรรมด้วยความชาญฉลาด ด้วยเหตุและผลดังนี้ปัญหาประการหนึ่งของพระเนื้อชิน คือ ส่วน "พระศอ" ขององค์พระมักจะบอบบาง ทำให้เปราะและแตกหักง่าย ผู้สร้างจึงแก้ไขปัญหาโดยเอาส่วนที่เป็นพระศอของพระอีกองค์หนึ่งนั่งสวนทางกัน ดังนั้น ส่วนที่เปราะบางซึ่งก็คือพระศอ จึงไปอยู่ในส่วนที่เป็นพระเพลาของพระอีกด้านหนึ่ง สามารถลบล้างในส่วนที่เปราะบางได้อย่างสิ้นเชิง…เก่งจริงๆ นะครับคนไทยเนี่ยะ

ในการแตกกรุครั้งใหญ่ของพระเครื่อง กรุพระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี เมื่อปีพ.ศ.2456 นั้นได้พบพระเครื่องมากมายหลายชนิด หลายพิมพ์ทรง ซึ่งต่างก็ได้รับความนิยมสูงทั้งสิ้น และที่นักสะสมรู้จักกันเป็นอย่างดีก็คือ “พระผงสุพรรณ” อันเป็นหนึ่งในพระชุดเบญจภาคีที่มีชื่อเสียงลือลั่น
นอกจากพระผงสุพรรณอันเลื่องชื่อของวงการแล้ว ในกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี ยังมีพระอยู่ชนิดหนึ่งที่มีลักษณะพุทธศิลป์แปลกแตกต่างไปจากพระพิมพ์อื่นๆ กล่าวคือ เป็นพระพิมพ์ 2 หน้า โดยวางรูปแบบให้พระทั้งสองด้านประทับนั่งกลับหัวสวนทางกัน สมัยก่อนจึงเรียกว่า “พระสวน” ตามลักษณะเด่นของพิมพ์พระ ต่อมาจึงเรียกขานกันว่า “พระมเหศวร”

พระมเหศวร เป็นพระเนื้อชินยอดนิยม วงการพระจัดให้เป็นหนึ่งในห้าของ “ชุดพระยอดขุนพลเนื้อชิน” แห่งสยามประเทศ เป็นพระที่พบในกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี เพียงแห่งเดียวเท่านั้นไม่มีจากกรุอื่นๆ นักสะสมต่างยกย่องว่าเป็นพระที่มีพุทธคุณยอดเยี่ยมทุกด้าน ทั้งเมตตามหานิยม มหาอุตม์แคล้วคลาด โดยเฉพาะด้านคงกระพันชาตรี

ขอบคุณข้อมูล และรูปภาพจาก  http://www.thaipra.com

 

วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
ถนนสมภารคง ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมืองสุพรรณบุรี สุพรรณบุรี 72000

ค่าพิกัด GPS 14.480534, 100.113910

 

 

 

 

 

สถานที่ท่องเที่ยว จังหวัดสุพรรณบุรี ร้านอาหาร ของกิน จังหวัดสุพรรณบุรี รีสอร์ท โรงแรม ที่พัก จังหวัดสุพรรณบุรี home suphanbiz

 

Last modified: 26/08/65

จังหวัดสุพรรณบุรี Suphanburi
สถานที่ท่องเที่ยว | ที่พัก-รีสอร์ท | ร้านอาหาร แผนที่ | การเดินทาง | อื่นๆ | กิจกรรม

 

 

วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี คุ้มขุนแผน มะขามยักษ์วัดแค  สุพรรณบุรี