|
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
สุพรรณบุรี
|
![]()
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี จัดกิจกรรม
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
สุพรรณบุรี
ริมถนนสาย สุพรรณ-ชัยนาท (340)
บริเวณศูนย์ราชการใหม่จังหวัดสุพรรณบุรี ก้าวแรกสถานที่ภายในสะอาดสวยงาม แอร์เย็นฉ่ำ
ภายในแบ่งเป็นห้องต่างๆ เริ่มตั้งแต่สมัยการต่อสู้ปกป้องบ้านเมือง
ห้องรวบรวมชนเผ่าต่างๆที่มาอาศัยในเมืองสุพรรณ
ห้องแสดงวิถีชีวิตของชนต่างเชื้อชาติและเผ่าพันธุ์
ที่ทำด้วยหุ่นจำลอง ให้ความรู้สึกเหมือนจริง
ห้องแสดงโบราณวัตถุ และวัตถุมงคลแบบต่างๆ
ที่หายากและมีชื่อเสียง ที่ค้นพบในจังหวัดสุพรรณ ใกล้ๆกับพิพิธภัณฑ์ฯ
ยังสามารถเดินไปชม
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี
นำเสนอเรื่องราว วิถีชีวิต ของชาวจังหวัดสุพรรณบุรี
นับตั้งแต่หลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์
ที่กล่าวถึงเมืองสุพรรณบุรีในอดีต
หลักฐานที่แสดงถึงพัฒนาการของเมืองสุพรรณบุรี
ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ทวาราวดี ลพบุรี อยุธยา
และรัตนโกสินทร์ เหตุการณ์ยุทธหัตถี
กลุ่มชนต่างๆที่อาศัยในจังหวัดสุพรรณบุรี
ประวัติบุคคลสำคัญของจังหวัดสุพรรณบุรีในอดีต
วรรณกรรมสำคัญของจังหวัดสุพรรณบุรี
เพลงพื้นบ้านหรือเพลงลูกทุ่ง จนถึงสุพรรณบุรีในวันนี้
วันที่ ๑ กันยายน ๒๕๔๖ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี
ลักษณะอาคาร
ห้องบทนำ
ห้องยุทธหัตถี
ห้องคนสุพรรณ
ห้องบุคคลสำคัญ วัตถุโบราณสำคัญประกอบด้วย
พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร: ประติมากรรมรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร สลักจากหินทรายสีเขียว สูงประมาณ ๑๔๘.๕ ซม. พบที่โบราณสถานเนินทางพระในเขตอำเภอสามชุกซึ่งเป็นโบราณ สถานในศาสนาพุทธนิกายมหายาน สมัยลพบุรีเดิมจัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง ลักษณะทางประติมาณวิทยาที่สำคัญ คือ เป็นประติมากรรมรูปบุรุษ เกล้ามวยผมสูงถักผม ลักษณะที่เรียกว่า "ชฎามกุฎ" มวยผมผายออกตอนบน ส่วนโคนมวยคอด ต่างไปจากรูปพระอวโลกิเตศวรศิลปะขอมทั่วไปที่มีมวยทรงกระบอก ปรากฏรูปภาพพระพุทธปางสมาธิ หรือพระอติมาภะอยู่ด้านหน้ามวยผม มีกรอบไรพระศกทำลายเป็นรูปเม็ดไข่ปลา พระโพธิสัตว์มีพระพักตร์ค่อนข้างเหลี่ยมพระเนตยาวรี ลืมพระเนตร ต่างกับรูปพระโพธิสัตว์ทั่วไปที่มีพระเนตรปิดสนิทอันเป็นลักษณะของศิลปะขอมแบบบายน สวมกุณฑลรูปตุ้ม สวมกรองศอสั้น รูปสามเหลี่ยมและพาหุรัด ม ๔ กร หัตถ์ซ้ายบนถือคัมภีร์ หัตถ์ซ้ายล่างถือหม้อน้ำมนต์ หัตถ์ขวาบนถือพวงลูกประคำหัตถ์ขวาล่างถือดอกบัว นุ่งผ้าสั้น มีชายผ้าเป็นรูปหางปลา คาดเข็มขัดมี หัวรูปสี่เหลี่ยมประดับลายดอกไม้ จากลักษณะทางประติมาณวิทยาของพระโพธิสัตว์ที่กล่าวไป แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของศิลปะพื้นเมืองบางประการที่ผสม ผสานอยู่กับศิลปะขอมแบบบายนอายุราวพุทธศตวรรษที่๑๘ อันเป็นศิลปะที่ให้อิทธิพลโดยตรงกับรูปพระโพธิสัตว์องค์นี้
พระพุทธรูปนาคปรก: พระพุทธรูปนาคปรกองค์นี้ สลักจากหินทรายสีเขียว พบที่วัดปู่บัว เดิมจัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง มีลักษณะทางประติมาณวิทยาที่สำคัญคือ พระพุทธรูปมีรัศมีเป็นรูปกลีบบัวซ้อนกัน ๓ ชั้นเม็ดพระศกทำเป็นลายรูปสี่เหลี่ยมขนาดเล็กปรากฏกรอบไรพระศกพระพักตร์ มีลักษณะค่อนข้างเหลี่ยมพระขนงต่อกันเป็นรูปปีกกาพระเนตรยาวรีลืมพระเนตรพระนาสิกโด่งงุ้มพระโอษฐ์หนาอยู่ในอาการแย้มพระสรวลเล็กน้อยพระกรรณยาวพระพุทธรูปครองจีวรห่มเฉียง ปรากฏสังฆาฎิบนพระอังสา พระหัตถ์ทั้งสองประสานกันอยู่บนพระเพลาในลักษณะสมาธิ ปรากฏรูปธรรมจักรอันเป็นลักษณะของมหาบุรุษอยู่บนฝ่าพระหัตถ์ ประทับนั่งขัดสมาธิอยู่บนขนดนาคสามชั้น ขนดนาคมีลักษณะสอบลงสู่ชั้นล่าง เบื้องหลังพระพุทธรูปทำรูปนาค ๗ เศียร นาคมีลักษณะใบหน้ายาว นาคเศียรข้างทุกเศียรชำเลืองไปยังนาคเศียรกลางปรากฏลายดอกจันทร์ที่ลำคอนาค ลักษณะของพระพุทธรูปนาคปรกองค์นี้ อยู่ในศิลปะลพบุรี ซึ่งรับอิทธิพลจากศิลปะขอมแบบบายน ผสมผสานกับฝีมือช่างท้องถิ่น กำหนดอายุได้อยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ สถานที่ตั้ง :
ศูนย์ราชการกรมศิลปากร ถนนสุพรรณบุรี-ชัยนาท
ตำบลสนามชัย อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี 72000
ค่าพิกัด
GPS
|
|
Last modified:
27/08/64
จังหวัดสุพรรณบุรี
Suphanburi
|
สถานที่ท่องเที่ยว |
ที่พัก-รีสอร์ท
|
ร้านอาหาร
|
แผนที่
|
การเดินทาง
|
Other